วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

 
อิสลามกับวันอีด
 
1. ความหมายของวันอีด
1.1 ความหมายด้านภาษา อีด เป็นภาษาอาหรับที่ผันมาจากกริยาของ “อาดะ ยะอูดุ    เอาดัน” แปลว่า เวียนมา วกกลับ หวนมาบรรจบ ครบรอบ อัล-อัซฮะรีย กล่าวว่า “อีดในทัศนะของคนอาหรับจะหมายถึง เทศกาลความรื่นเริงหรือความโศกเศร้าที่หวนกลับมาบรรจบหรือครบรอบอีกครั้งหนึ่ง
 
1.2 ความหมายด้านนิติศาสตร
วันอีดในดานนิติศาสตร์จะหมายถึงวันแห่งเทศกาลหรือโอกาสใดโอกาสหนึ่งที่หวนกลับมาบรรจบหรือครบรอบอีกครั้งอย่างเป็นเนืองนิตย์และเป็นปกติวิสัย ไม่ว่าจะเป็นการหวนกลับมาในรอบปีรอบสัปดาห์หรือรอบเดือนก็ตาม(3) อาทิเช่น อีดิลฟิฏริ อีดิลอัฎฮา อีดุลมีลาด(วันเกิด) อีดเราะสุสสะนะฮฺ(วันขึ้นปีใหม่) และอีดเมาลิด เป็นต้น
2. ปรัชญาวันอีดในบัญญัติอิสลาม
 วันอีดเป็นเอกลักษณ์แห่งเทศกาลความสุขสันต์และรื่นเริงเฉพาะประการหนึ่งของอิสลามที่ประกอบด้วยปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ ความหมายที่ลึกซึ้ง และความเร้นลับที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งไม่สามารถพบเจอในเทศกาลต่างๆเพราะอิสลามได้ทําให้วันอีดมีความเชื่อมโยงกับความหมายต่างๆที่ทรงคุณค่าอย่าง มหาศาลและมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมทางศาสนาที่สามารถยกสถานภาพของมนุษย์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  วันอีดเป็นสัญลักษณ์สําคัญในการตอบสนองมนุษย์ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการดั้งเดิมของพวกเขาเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านมนุษยธรรม  วันอีดเป็นเทศกาลที่ทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ คนรวยและคนจน คนมีเกียรติและประชาชนทั่วไป สามารถมาพบปะสังสรรค์และสนุกสนานรื่นเริงอย่างเต็มอิ่มและพร้อมเพรียงกันโดยปราศจากการแบ่งแยกชนชั้นและฐานะ
 
และด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺเพื่อให้มนุษย์ได้บรรลุถึงปรัชญาอันทรงคุณค่าดังกล่าว พระองค์ทรงกําหนดให้วันอีดในอิสลามมีขึ้นหลังจากเหตุการณ์สําคัญช่วงหนึ่งที่พระองค์ทรงทดสอบบ่าว ของพระองค์ในช่วงเดือนของการถือศีลอดเป็นบททดสอบอันประเสริฐที่เปี่ยมด้วยศาสตร์แห่งการเสียสละ การขจัดความทิฐิ และการยับยั้งอารมณ์และตัณหา ฯลฯ 
 
 
วันอีดในบัญญัติอิสลาม
 
วันอีดเป็นวันสําคัญทางศาสนาวันหนึ่งที่เราไม่สามารถกําหนดขึ้นเองได้นอกจากได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้นทั้งด้านวันเวลา พิธีกรรม และวิธีการต้อนรับและเฉลิมฉลอง ซึ่งพอสังเขปได้ดังนี้
1. อีดประจําสัปดาห์
วันศุกร์ถือได้ว่าเป็นวันอีดประจําสัปดาห์ของชาวมุสลิม ซึ่งบรรดาชาวมุสลิมจะมีการรวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียงกันเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่เรียกว่าละหมาดวันศุกร์ซึ่งอัลลอฮฺทรงประทานให้เป็นของขวัญแก่ประชาชาติอิสลามเป็นการเฉพาะ หลังจากที่ชาวยิวและคริสต์ได้เลือกเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นวันสําคัญประจําสัปดาห์ของพวกเขาในวันนี้อิสลามห้ามไม่ให้มีการถือศีลอดเช่นเดียวกับวันอีดอื่นๆ ส่งเสริมให้ทําความสะอาดและอาบน้ําชําระร่างกายและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดเพราะสัญลักษณ์ประจําวันอีด คือการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงามการรวมตัวเพื่อถามไถ่ทุกข์สุขซึ่งกันและกัน และให้มีการกินดื่มอย่างสุขสําราญ
2. อีดิลฟฏรฺ
อีดิลฟิฏรฺเป็นวันแรกของการออกจากเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม (วันที่ 1 ของเดือนเชาวาล) เปนวันแห่งรางวัลและการตอบแทนสําหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบประจําปีในเดือนเราะมะฎอน ด้วยการบังคับตัวเองด้วยจิตศรัทธาที่มุ่งมั่นจากการกินดื่มอยู่ในความสํารวมตน ลดละกิเลสตัณหา และยืนฟังการอ่านอัลกุรอานในละหมาดตะรอวีหฺเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็มตลอดค่ําคืนของเดือนเราะมะฎอน  พร้อมทั้งฝึกฝนด้านความโอบอ้อมอารีและความมีจิตเมตตาและกรุณาต่อผู้ที่ด้อยโอกาสและอ่อนแอกว่าในช่วงเดือนเราะมะฎอนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม เพื่อขัดเกลาตนเองทั้งกายใจ 
 
ดังนั้นหลังจากที่พวกเขาสําเร็จออกจากเบ้าหลอมแห่งการทดสอบพร้อมกับจิตสํานึกแห่งมนุษยธรรมที่เปี่ยมล้นอิสลามจึงประกาศให้วันนี้เป็นวันอีด(วันแห่งเทศกาลการเฉลิมฉลอง)ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาพร้อมกับสั่งให้มีการบริจาคทานแก่บรรดาผู้ที่ขัดสนซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ “ซะกาตฟิฏเราะฮฺ” ควบคู่ไปกับการละหมาดอีด
 
3. อีดิลอัฎฮาหรืออีดกุรบาน อีดิลอัฎฮาคือวันที่ 10 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺหนึ่งวันและเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกของเดือน ซุลหิจญะฮฺที่การปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าวจะมีความประเสริฐที่สุดและอัลลอฮฺจะพึงพอใจที่สุด เพราะเป็นวันหัจญอักบัรฺ(หัจญ์ใหญ่)ถึงแม้ว่าอีดิลอัฎฮาจะตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลหิจญะฮฺก็ตามแต่ด้วยความยิ่งใหญ่ของอีดิลอัฎฮา (ซึ่งเป็นอีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปีและยิ่งใหญ่กว่าวันอีดิลฟิฏรฺ(29))  อิสลามจึงได้ผนวกเอาวันที่ 9   ซุลหิจญะฮฺ หรือวันอะเราะฟะฮฺ และวันที่ 11-13 ซุลหิจญะฮฺ หรือวัน ตัชฺรีก(30)เข้ากับวันอีดิลอัฎฮาด้วย ดังนั้นเทศกาลวันอีดิลอัฎฮาจึงมีทั้งหมด 5 วัน ด้วยกัน 
 


วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ทัศนะของอิสลามต่อธรรมชาติ
 

ในยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ มีผู้คนจำนวนมากมายที่ยึดเอาวิทยาศาสตร์เป็นศาสนาและนับถือนักวิทยาศาสตร์บางคนเป็นศาสดา ตลอดจนเชื่อว่าสิ่งที่มีอยู่และเป็นจริงนั้น จะต้องสัมผัสและพิสูจน์ได้ด้วยมาตรการทางวิทยาศาสตร์ มิเช่นนั้นแล้วสิ่งนั้นย่อมไม่มีอยู่และไม่เป็นจริง
          เมื่อพูดถึงการสร้างโลกและกำเนิดมนุษย์ สาวกผู้คลั่งไคล้วิทยาศาสตร์จะกล่าวว่าโลกและชีวิตตลอดจนสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการทางธรรมชาติ จนถึงกับดูถูกเผ่าพันธุ์ของตนเองว่า มีวิวัฒนาการมาจากลิง แต่เมื่อถามว่า “ธรรมชาติ” คืออะไร ? และเกิดขึ้นได้อย่างไร ? คนเหล่านั้นกลับตอบอย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ว่า มันคือกฎที่เกิดขึ้นเองหรือความเป็นไปเองของสิ่งต่าง ๆ โดยบังเอิญ
         ในอิสลาม “ความบังเอิญ” ดังกล่าวนี้ไม่มี เพราะ อิสลามถือว่าทุกสรรพสิ่งในสากลจักรวาลนั้นมีขึ้นและเป็นไปโดยเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น กล่าวคือ อัลลอฮฺทรงสร้างทรงวางกฎกำหนด ทรงบริหารและทรงทำให้สมบูรณ์
 
         ดังนั้นในอิสลาม “ธรรมชาติ” ก็คือกฎระเบียบที่อัลลอฮฺ ได้ทรงวางไว้ให้แก่ทุกสรรพสิ่งในสากลจักรวาลตั้งแต่การเคลื่อนไหวของอะตอมในโมเลกุล การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ ไปจนถึงการโคจรของดวงดาวต่างๆ ในจักรวาล กฎระเบียบเหล่านี้คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่าเป็น “สุนนะฮฺ” (แบบแผน) ของอัลลอฮฺ  ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้และเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่มนุษย์เรียกว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มนุษย์เป็นเพียงแต่ผู้ที่ค้นพบกฎเหล่านี้และนำมันมาใช้ประโยชน์เท่านั้น
         ส่วนปรากฏการณ์ที่เรามองเห็นด้วยตาเช่น การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของดวงดาว กลางวันกลางคืน น้ำขึ้นน้ำลงนั้น สิ่งเหล่านี้ คัมภีร์อัลกุรอานเรียกมันว่า “อายะฮฺ” (สัญญาณ) ของอัลลอฮฺ และอายะฮฺหรือปรากฏการณ์เหล่านี้เอง ที่คัมภีร์อัลกุรอานบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการมีผู้สร้าง และผู้วางกฎเกณฑ์ให้แก่มัน ผู้ทรงอยู่เบื้องหลังนั่นคือ อัลลอฮฺ
 
 
 
islamhouse

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รอมฏอนคือ อะไร
 เดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช   เป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง 




ข้อควรปฏิบัติในเดือนรอมฏอน
งดอาหารทุกชนิด รวมถึงน้ำดื่ม   ในช่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น-พระอาทิตย์ตกดิน รวมทั้ง ให้อดทนต่อสิ่งรอบตัว หยุดทำความชั่ว และออกห่างจากสิ่งหรือคนที่จะชักนำเราไปสู่การฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้าไม่ว่าจะโดยมือ(ทำร้ายหรือขโมย)       เท้า  (เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม)   ตา (ดูสิ่งลามก)   หู (เช่นการฟังสิ่งไร้สาระ ,ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน)  ปาก (การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหก โป้ปด)  

บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน  ได้แก่  คนเจ็บป่วย  หญิงที่มีประจำเดือน หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถ ก็จะถือได้  หญิงที่ตั้งครรภ์  และคนแก่ชรา ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
ทั้งนี้ หญิงที่ตั้งครรภ์และที่ให้นมบุตร กับคนที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดนั้น....ต้อง จ่ายเป็นทาน โดยจ่ายทานเป็นข้าวสาร จ่ายทานข้าวสาร วันละ 1 มุด 1 มุดประมาณ 6 ขีด   ส่วนคนเจ็บป่วย และ สตรีที่มีประจำเดือนนั้น ให้ถือศีลอดใช้ภายหลัง ให้ครบ ก่อนรอมฎอนในปีถัดไปช่วงเวลาที่เริ่มถือศีลอด คือตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น - แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดินการคำนวนดูเวลาแสงพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ตามการคำนวณของหลักดาราศาสตร์อิสลาม วัดตามพิกัดองศาแต่ละพื้นที่เวลาละศีลอด นั้นมักจะใช้อินทผลัมในการละศีลอด...เพราะเป็นแบบอย่างจากท่านนบีมูฮำมัด  ซึ่ง อินทผลัมนั้น ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายชนิดหนึ่ง และเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลีย จากการขาดพลังงานและน้ำ ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่จะละศีลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีรสหวานก็สามารถทานได้

วัตถุประสงค์ของเดือนรอมฎอน  
คือ เพื่อเพิ่มความยำเกรงพระเจ้าให้มากขึ้น  ต้องการให้เราทำทานมากขึ้น  รวมถึงยังให้ฝึกฝนตนเองไว้ให้พร้อมสำหรับการญิฮาด (เสียสละ)ตลอดชีวิต สุดท้ายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคัมภีร์กุรอานให้มากยิ่งขึ้น

   การถือศีลอดเดือนรอมฎอนตามบัญญัติอิสลาม เป็นอิบาดะฮฺที่ต้องมีการปฏิบัติในประชาชาติอิสลามโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะต้องปฏิบัติในช่วงเดือนรอมฎอน ที่มีเพียงเดือนเดียวต่อปี จึงทำให้ชาวมุสลิมต้องตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน  ตามคำสอนของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ตรัสไว้ว่า  "เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด"

รู้จักกันก่อนสิ

นามเดิมว่า นางสาว ฮาซือน๊ะ (ยังไม่เคยเปลี่ยนชื่อ) 
นามสกุล  เวาะเซง 
คลอดที่บ้านเลขที่ 95 ม.2 ตำบล ปะโด อำเภอ มายอ จังหวัด ปัตตานี 94140
ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ที่รากเง้าเดิมของพระมารดา แล้วก็ได้สร้างบ้านใหม่ซึ่งเป็นบ้านของตนเองโดยใช้งบประมาณในการสร้างมาจากพระบิดาและพระมารดา ภายใต้บ้านเลขที่ 39/6 ม.2 ตำบล เขาตูม อำเภอ ยะรัง จังหวัด ปัตตานี 94160
ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สังกัดสถาบันภาษานานาชาติ